พื้นที่ว่าง ○ ระยะห่าง ○ สเปซสวน

เชื่อว่าหากใครมีพื้นที่ว่างบริเวณนอกบ้าน หลายคนมักเลือกที่จะปรับทัศนียภาพให้กลายเป็นลานอเนกประสงค์ช่วยให้รู้สึกถึงการอยู่อาศัยเชื่อมต่อถึงกัน ให้แสงและการระบายอากาศเข้าไปภายในอาคาร ส่งเสริมให้แวดล้อมของบ้านมีชีวิตชีวา ซึ่งพื้นที่ว่างหลักๆ จะอยู่บริเวณกลางบ้านหรือที่เราเรียกว่า Courtyard และพื้นที่สีเขียวรอบบ้าน แล้วคอร์ตยาร์ดตรงกลางกับพื้นที่ว่างรอบบ้านมันต่างกันอย่างไร? Courtyard จะเป็นลานตรงกลางถูกโอบล้อมด้วยอาคาร เหมาะกับพื้นที่ใช้งานร่วมกันแบบส่วนตัว สามารถมองเห็นจากมุมในสู่มุมนอกและมุมนอกสู่ใน ทำให้การเดินเชื่อมต่อใกล้กันมากขึ้น สามารถอย่างไรก็ตาม Green Space บนพื้นที่ว่าง จะช่วยให้ทัศนียภาพที่หลากหลายกว่า เหมาะแก่การทำกิจกรรมได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่จะมีข้อแตกต่างในเรื่องของการวางผังระบบ เช่น ระบบการระบายน้ำ การติดตั้งระบบไฟ เป็นต้น ข้อดีคือเป็นพื้นที่ที่ยืดหยุ่นสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เป็นช่องระบายลมธรรมชาติ แสงแดด และสร้างทัศนียภาพโดยรอบไปพร้อมกัน สำหรับในพื้นที่จำกัด ช่วยย่นระยะการเดินระหว่างบ้านกับ Outdoor ให้ใกล้กันมากขึ้น เหมาะกับอาคารที่มีพื้นที่พอเพื่อให้เปิดรับลมและแสงธรรมชาติ ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบ


อาคารที่ถูกสร้างให้มีหลายๆ หลังจะเกิดพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร ทำให้การออกแบบคอร์ตยาร์ดมีหลากหลายรูปแบบตามลักษณะของพื้นที่ใช้งาน 
🌳คอร์ตที่มองด้านเดียว เป็นการออกแบบที่มีความสมมาตรกับพื้นที่เปิดส่วนหน้าของอาคาร สามารถออกแบบให้พื้นที่ด้านบนเป็นแบบกึ่งกลางแจ้งได้  
🌳คอร์ตในอาคารรูปตัวแอล (L) เป็นการออกแบบที่ให้ความรู้สึกไม่อึดอัดหรือทึบตันเกินไป สามารถมองในมุมลักษณะของลานด้านข้างอาคาร และลานหน้าบ้าน ซึ่งเหมาะกับอาคารที่มีขนาดใหญ่ หรือการทำบ้านหลายหลังในพื้นที่เดียวกัน
🌳คอร์ตในอาคารรูปตัวโอ O เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม เนื่องจากออกแบบค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถเห็นทัศนียภาพจากมุมในสู่นอกบ้านและเป็นช่องระบายอากาศได้ทั้ง 4 ด้าน เหมาะกับเป็นพื้นที่พักผ่อนของครอบครัว
🌳คอร์ตในอาคารรูปตัวเอช H จะสังเกตได้ว่าตัวเอชจะมีพื้นที่ว่างโซนกลางทั้งบนและล่าง ดังนั้น คอร์ตยาร์ดจะถูกล้อมไปด้วยอาคารทั้งสองจุด มีการแยกสัดส่วนชัดเจนทำให้ง่ายต่อการใช้งานของพื้นที่ 
🌳คอร์ตในอาคารรูปตัววาย Y ตัวอาคารจะมีลักษณะคล้ายกับตัวเอช พื้นที่คอร์ตยาร์ดก็จะมีสองส่วนที่สามารถออกแบบเป็นส่วนทางเข้าบ้านได้ 
🌳คอร์ตในอาคารรูปตัวแซด Z อาคารรูปทรงนี้จะมีพื้นที่ต่างจากตัวเอชและตัววาย ทำให้พื้นที่สำหรับออกแบบคอร์ตยาร์ดจะอยู่ส่วนตรงมุมของอาคาร นิยมใช้สำหรับการสร้างเป็นคอร์ตหลักและคอร์ตรอง


การออกแบบทางเดินในสวนที่ดี ควรดีไซน์ให้สอดคล้องกับจังหวะการก้าว เช่น การวางแผ่นหิน เพื่อให้มีระยะการเดินที่ต่อเนื่องและเดินง่าย ระหว่างแผ่นทางเดินหรือช่องว่างแผ่นทางเดินอาจโรยหินหรือปลูกหญ้าเพื่อเพิ่มพื้นผิวให้ดูสวยงาม โดยทั่วไปแล้วทางเดินในสวนควรกว้าง 0.30 – 0.60 เมตร แผ่นหินทางเดินควรห่างให้พอดีกับระยะก้าวเดิน โดยวัดจากจุดศูนย์กลางแผ่นทางเดินอยู่ที่ 50 – 55 เซนติเมตร สามารถวางได้ทั้งทางเดินแบบโค้งและแบบเส้นตรง หากวางเป็นทางโค้งควรให้แผ่นทางเดินทำมุมตั้งฉากกันเพื่อความสะดวกในการเดิน ในส่วนของทางเดินต่อเนื่องควรมีความกว้างประมาณ 0.9 – 1 เมตร ในกรณีสำหรับรถเข็นเข้าถึงได้ ควรออกแบบไม่ต่ำกว่า 1 เมตร และในกรณีสำหรับผู้คนเดินสวนกันควรออกแบบในระยะ 1.50 เมตร


สวนในที่แคบเป็นอีกหนึ่งในการสร้างภูมิทัศน์บนพื้นที่จำกัด ออกแบบเพื่อเชื่อมโยงสิ่งปลูกสร้างเข้ากับพื้นที่กลางแจ้ง อย่างไรก็ตาม จะต้องคำนึงถึงหลักการการออกแบบเพื่อความเหมาะสมของพื้นที่อาคารเช่นกัน สำหรับรูปแบบของสวนขนาดเล็กในพื้นที่อาศัย จะมีทั้งพื้นที่ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง โดยจะมีหลักการประมาณพื้นที่ ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับแปลนและพื้นที่ที่มีอยู่เป็นหลัก) 
พื้นที่บริเวณสวนหน้าบ้าน ประมาณ 15 – 24 ตรม
พื้นที่บริเวณสวนข้างบ้าน ประมาณ 16 – 28 ตรม.
พื้นที่บริเวณสวนหลังบ้าน ประมาณ 26 – 40 ตรม.
พื้นที่น้อยก็สามารถจัดสวนได้หลายประเภทตามความพึงพอใจได้ เช่น สวนทางเดินสไตล์โมเดิร์น หรือมุมพักผ่อนสไตล์ทรอปิคอล ทั้งนี้จะต้องมีการพิจารณาในเรื่องของทิศทางของแสงและลมธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้สวนรอบอาคารดูกว้างและโปร่งโล่งมากขึ้น รวมถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งไม่ให้สวนดูแออัดจนเกินไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save